26 November 2021

< 1 min read

ฟันผุเกิดจากอะไร วิธีแก้ไข และดูแลอย่างไรให้สุขภาพฟันแข็ง | Zenyum TH

รู้หรือไม่? ประชากรโลกกว่าร้อยละ32 กำลังประสบกับปัญหาฟันผุ หรือ ฟันเป็นรู ถึงแม้อาการฟันผุจะเป็นเพียงปัญหาเล็กๆน้อย แต่เราก็ควรแก้ไขให้เร็วที่สุด อาการฟันผุเป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ และมักจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาใหญ่อยู่เสมอ

ฟันผุเกิดจากอะไร

สาเหตุของฟันผุเกิดจากการอาหารที่เลือกรับประทานอาหาร และการทำความสะอาดฟันที่ไม่สะอาดเพียงพอ การที่มีเศษอาหารไปค้างอยู่ตามซอกฟันเป็นระยะเวลานาน หรือมีน้ำตาลจากอาหารที่กิน จึงทำให้เชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียตัวนี้ (Streptococcus mutans) จะเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นสารที่มีฤทธิ์เป็นกรดและสลายแร่ธาตุซึ่งเป็นโครงสร้างของฟันจนทำให้ฟันผุไปทีละน้อยจากชั้นเคลือบฟันภายนอกเข้าไปในเนื้อฟัน จนทะลุถึงชั้นโพรงประสาทฟัน (Pulp) ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดฟัน หรือฟันอักเสบเป็นหนองได้

อาการฟันผุระยะแรกมักจะไม่สามารถรู้ได้เพราะไม่มีอาการที่เห็นได้ชัดเจน แต่ในระยะเวลาต่อมาไม่นานจะเริ่มมีอาการที่บอกว่าคุณอาจจะเจอกับโรคฟันผุเข้าแล้ว ดังนี้ ปวดฟัน, ฟันเป็นรู, เลือดออกเวลาแปรงฟัน, สังเกตเห็นจุดสีดำ ๆ หรือฟันเปลี่ยนสีไปจากเดิม ข้อสังเกตเหล่านี้เป็นเพียงอาการเบื้องต้นเท่านั้น ทางที่ดีการเข้าพบทันตแพทย์เพื่อให้ประเมินสุขภาพปากเป็นประจำคือสิ่งที่ดีที่สุด

หากเรามีอาการที่บงชี้ว่าเราอาจมีฟันผุได้นั้น ก็อย่าละเลยนะคะ ควรเข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาฟันผุอย่างละเอียด บางกรณีสามารถตรวจเจอฟันผุได้จากการมองเห็นจากกระจกส่องปาก และในบางรายอาจต้องใช้วิธีการถ่ายภาพรังสีเอกซ์ (X-RAY) ร่วมด้วย เพื่อให้สามารถตรวจพบฟันผุในตำแหน่งที่ตามองไม่เห็น เช่น ตามซอกฟันหรือใต้ขอบวัสดุอุดฟันเดิม และยังบอกได้ถึงการลุกลามได้ด้วย

วิธีรักษาฟันผุ

ทันตแพทย์จะทำการรักษาโรคฟันผุแบบไหนนั้นขึ้นอยู่กับปัญหาของคนไข้แต่ละคน ดังนั้นการรักษาโรคฟันผุ จะมีวิธีที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งการรักษาตามระดับ ดังนี้

  • ทำการอุดฟัน: กรณีเห็นฟันผุเป็นรูชัดเจน ฟันถูกทำลายถึงส่วนเนื้อฟันเท่านั้น ทันตแพทย์จะทำการอุดฟัน เลือกใช้วัสดุได้ 2 ชนิดคือ อุดฟันด้วยวัสดุที่เป็นโลหะหรืออุดฟันด้วยวัสดุที่สีเหมือนฟัน
  • ทำการรักษารากฟัน: กรณีที่ฟันผุหนักจนลุกลามไปถึงโพรงประสาทแล้ว วิธีเดียวที่จะสามารถรักษาฟันธรรมชาติไว้ได้คือการรักษารากฟัน แต่จะใช้เวลาหรือมีความยุ่งยากมากกว่าการอุดฟัน
  • ทำการถอนฟัน: กรณีฟันผุจนอักเสบลุกลามไปมาก ไม่สามารถเยียวยาไว้ได้  ไม่เหลือเนื้อฟันดีที่จะสามารถรักษาฟันซี่นั้น ไว้ได้ต่อไปได้อีก

ป้องกันดูแลฟันผุ

  • ควรใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก
  • ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เพื่อทำความสะอาดบริเวณซอกฟัน และส่วนที่ขนแปรงเข้าไม่ถึง  
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลและอาหารที่มีรสหวาน
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมในการยับยั้งแบคทีเรียเป็นประจำ
  • พบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

ฟันผุจัดฟันได้ไหม?

20 tuổi có niềng răng được không?​

อีกหนึ่งคำถามที่พบเป็นประจำก็คือหากอยากจัดฟันแต่มีฟันผุอยู่จะจัดฟันได้หรือไม่ คำตอบก็คือได้ค่ะ แต่ต้องทำการรักษาฟันผุก่อน โดยปกติแล้วก่อนการจัดฟัน และใส่เครื่องมือต่างๆ ทันตแพทย์จะทำการเคลียร์ช่องปากก่อนเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการขูดหินปูนเพื่อทำความสะอาด และการรักษาฟันผุหากพบว่าฟันกำลังมีปัญหา

ถ้าฟันผุตอนจัดฟันต้องทำอย่างไร?

เมื่อทันตแพทย์ประเมินอาการแล้วอยู่ในเกณฑ์ที่รักษาได้  จะมีขั้นตอน ดังนี้

  1. ถอดลวดและยางจัดฟันด้านบนหรือล่างที่อยู่ในแนวเดียวกับฟันผุทันที
  2. กรอหรือขูดฟันบริเวณที่ผุออกและทำความสะอาดฟันซี่นั้นๆ
  3. นำวัสดุสีเดียวกับฟันอุดบริเวณที่ผุ และทากาวยึดวัสดุอุดฟัน
  4. ฉายแสงเพื่อให้วัสดุแข็งตัว และขัดแต่งให้วัสดุเรียบไปกับผิวฟัน
  5. ใส่ลวดและยางจัดฟันกลับเข้าไปเหมือนเดิม

แต่ถ้าหากเพื่อนๆจัดฟันใสละก็สามารถแก้ไขได้เลย เพราะอุปกรณ์สามารถถอดออกได้เลย มากไปกว่านั้นการจัดฟันใสก็สามารถลดความเสี่ยงจากฟันผุได้ด้วยเพราะอย่างที่กล่าวไปว่าอุปกรณ์สามารถถอดออกได้ตลอดรวมไปถึงขณะทานอาหารและแปรงฟัน ทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดการสะสมของเศษอาหารในช่องปากได้

 

อย่างไรก็ดีการรักษาสุขภาพช่องปากที่ดีก็สำคัญกว่าการป้องกันฟันผุ โดยเฉพาะคนที่จัดฟันอาจจะต้องใช้เวลาในการทำความสะอาดช่องปากมากกว่าปกติ และใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกเหล็กซอกฟัน เช่น ไหมขัดฟัน น้ำยาบ้วนปาก เป็นต้น เพราะฉะนั้นเพียงแค่ดูแลช่องปากให้ดีก็สามารถป้องกันฟันผุได้แล้ว

รอยยิ้มสวยมั่นใจใครก็มีได้

จัดฟันใสราคาเดียวทุกเคสการรักษา

ไม่จำกัดจำนวนอุปกรณ์

คุณอาจชอบ...

ภาษา

ฟันผุเกิดจากอะไร วิธีแก้ไข และดูแลอย่างไรให้สุขภาพฟันแข็ง | Zenyum TH